|
Post by Admin on Sept 1, 2014 19:43:49 GMT 7
ขอยกสาระบทความต่างๆ ที่จิตใจจะนำพาไป จัดวางไว้ ณ ที่นี้นะครับ เพื่อเสนอ แลกเปลี่ยนทัศนะ ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ เพื่อสาธารณะประโยชน์สำหรับทุกท่านที่สนใจจริงจังจะสามารถนำไปถนอมดูแลสุขภาพส่วนบุคคลได้มากยิ่งขึ้น
เริ่มกันจากพื้นฐานย่อๆ นะครับ
โรค จะเป็นผลการวินิจฉัยจากแพทย์สมัยใหม่(แผนปัจจุบัน) และผู้มีประโยชน์จากการยกตนเทียบเท่าและผิดกฎข้อบังคับทางการแพทย์(คือไม่มีใบประกอบโรคศิลป์)
อาการป่วย ร่างกายผิดปกติ/ไม่สมดุล จะเป็นการประเมินอาการผิดปกติหรือภาวะไม่สมดุลของร่างกาย และยอมรับผลการวินิจฉัยจากแพทย์ จะเสริมร่างกายด้วยสารอาหารจากชีวิตประจำวัน สารอาหารสกัด หรือธัญพืชและสมุนไพรที่ได้มาตรฐาน
วิถีแพทย์ทางเลือกสากล คือการถนอมรักษาสุขภาพด้วยตนเอง โดยปรับพฤติกรรมการดื่ม ทาน พักผ่อน บำรุงร่างกาย และระบบขับถ่ายให้เหมาะสม, พยายามขวนขวายหาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการบำรุงถนอมดูแลสุขภาพให้ดีที่สุดด้วยตนเองก่อน (ประเมินภาวะสมดุลของร่างกาย และดูแลสุขภาพเพื่อจะไม่ป่วย)
วิถีแพทย์ทางเลือกสากล จะมอบความรู้ภูมิปัญญาต่างๆ ที่ปฏิบัติได้จริงด้วยตนเอง เอาใจใส่จริงจังในการถนอมรักษาสุขภาพให้มีภาวะสมดุลเพื่อจะไม่ป่วยจากการขาดสารอาหาร จากการใช้ชีวิตปประจำวันซ้ำๆ กันทุกวัน จากการใช้ยาหรือสารเคมี จากการใช้อาหารเสริมที่โฆษณาชวนเชื่อและธุรกิจมากเกินสมควร และพยายามหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาระให้แพทย์แผนปัจจุบัน
วิถีแพทย์ทางเลือกสากล ตระหนักและสำนึกในภารกิจบริการช่วยเหลือผู้คน ทั้งเรื่องสุขภาพ และโอกาสทางรายได้แบบง่ายๆ ไม่ต้องลงทุน ไม่ต้องถูกบังคับซื้อผลิตภัณฑ์ใดๆ แต่ได้ความรู้ ความเข้าใจการถนอมดูแลสุขภาพและโอกาสรายได้
จะพยายามแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ที่นี่นะครับ
|
|
|
Post by Admin on Sept 1, 2014 19:53:29 GMT 7
8 ของว่างไม่เพิ่มพุง ::
สิ่งหนึ่งที่นอกจากความอิ่มแล้ว ยังช่วยเรื่องสุขภาพ ที่ช่วยให้พลังและทำให้ไม่หิวโหยมากในช่วงก่อนเที่ยงหรือบ่ายแก่ๆ ก็คือ “ของว่าง” ที่คนไทยชักชวนกันรับประทานอยู่เสมอทั้งนอกบ้าน ในบ้าน หรือที่ทำงานตามออฟฟิศ
ของว่างมีประโยชน์หลักๆ คือ
- คุมความโหย
- ยืดเวลาความหิว
- ช่วยกระตุ้นสมอง
หลักๆ คือ อาหารว่างช่วย “ยืดเวลา” การใช้ชีวิตหรือการทำงานที่มีประสิทธิ ภาพออกไปได้ก่อนที่จะถึงมื้อหลักต่อไป แต่การใช้ของว่างช่วยสุขภาพก็ต้องมีเทคนิคอยู่บ้าง ไม่เช่นนั้นจะเป็นการสร้างรอบเอวโดยไม่รู้ตัวจากของว่างอย่าง มะม่วงน้ำปลาหวาน ไอศกรีม มันฝรั่งทอด กล้วยแขก โดนัท ฯลฯ
ของว่างที่ดีนั้น มีคุณสมบัติที่ควรมีอยู่ 2 อย่าง ข้อแรกคือช่วยดับ “ความรู้สึกหิว” กับอีกข้อคือช่วย “บำรุงสุขภาพ” ไปในตัว
ถ้ามีหลักนี้ในใจ ท่านก็ใช้เลือกของว่างได้ตามชอบครอบจักรวาลเลย ตอนนี้เผื่อให้ท่านจัดโปรแกรมของว่างได้ง่ายขึ้น ขออนุญาตยกตัวอย่างของกินที่นำมาจัดเป็นของว่างสุขภาพได้ โดยไม่สร้างพุงมากเท่าของว่างหวานจัดมันจัดทั้งหลาย
ไปชิมแก้เหงาปากกันเลยครับ
1) ถั่วลิสง
เป็นของว่างที่แทนขนมกรุบกรอบและมันฝรั่งถุงโตได้ดี โดยถั่วลิสงคั่วใหม่หอมๆ นั้นให้รสสัมผัสที่คล้ายกัน
ที่สำคัญคือ ได้ประโยชน์บำรุงสมองจากสารต้านอนุมูลอิสระในถั่ว ช่วยบำรุงผิวจากวิตามินอีและยังมีใยอาหารช่วยลำไส้อีกด้วย
2) ถั่วแระญี่ปุ่น หรือจะถั่วแระไทยก็ได้
เป็นของว่างสุขภาพถ้าเลือกได้สะอาดสดใหม่ มีของดีก็คือ “ไอโซฟลาโวนส์(Isoflavones)” เป็นเคมีที่ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งในหลายส่วน และป้องกันอาการวัยทองแบบธรรมชาติ
นอกจากนั้นยังมีวิตามินช่วยบำรุงสายตาอย่าง “วิตามินเอ” ที่มีอยู่ในเม็ดอวบเขียวของถั่วด้วย
จะซื้อแบบถั่วแช่เย็นมาเก็บไว้ก็ได้ มีเทคนิคคืออย่าลวกเกลือจนเค็มเกิน
3) สาหร่ายทะเล
ของไทยเราก็มีนะครับ อย่าง “เทา” หรือ “เตา” ที่เอามาทอดแล้วรับประทานอร่อยเป็นของว่างแถมไม่อ้วนด้วย (ขออย่าชุบแป้งทอดก็แล้วกัน)
หรือท่านใดห่วงน้ำมันจะใช้อบเอาก็ได้ นอกจากนั้นในสาหร่ายยังมีใยอาหารที่ไม่อ้วน ธาตุเหล็กบำรุงเลือด แร่ธาตุไอโอดีน และสังกะสีที่มีส่วนช่วยสร้างเม็ดเลือดและภูมิคุ้มกายเราด้วยครับ
4) เห็ดย่าง
เป็นของว่างที่อร่อยและเคี้ยวสนุกเหงือกคล้ายของปิ้งย่างเป็นไม้ๆ
ยิ่งได้เห็ดที่เนื้อแน่นๆ อย่าง เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดออรินจิ (นางรมหลวง) หรือเห็ดเข็มทอง ยิ่งเคี้ยวหนุบเพลินเหงือก มีทั้งเส้นใย วิตามิน และธาตุต้านมะเร็งอย่าง ซีลีเนียม ยิ่งทานพร้อมกันยิ่งดี โดยเห็ดย่างเป็นอาหารที่ทำรับประทานกันก็สนุกเหมือนปาร์ตี้บาบีคิว
หิวเมื่อไรก็หยิบเห็ดย่างสักไม้ จะได้อร่อยสบายท้องแบบไม่อ้วนครับ
5) โยเกิร์ตรสธรรมชาติ
เป็นของว่างที่ให้พลังงานกำลังดีและไม่อ้วน ได้โปรตีนที่ย่อยง่ายคือ “เพ็พไทด์” และ “กรดอะมิโน” ช่วยสร้างสารเคมีกระตุ้นสมอง
ที่สำคัญคือมี “เชื้อพระเอก” ที่เป็นจุลินทรีย์ดีช่วยเสริมเกราะให้ “สุขภาพดีจนสุดไส้” โดยให้เลือกโยเกิร์ตรสธรรมชาติที่ไม่หวานเพราะผลไม้เชื่อมในโยเกิร์ตคือตัวเพิ่มพุงชั้นดี
มีเคล็ดลับแถมอีกนิดคือแช่ให้เย็นแล้วรับประทานจะอร่อยชื่นใจแทนไอศกรีมมื้อบ่ายครับ
6) นมถั่วเหลือง
เป็นเครื่องดื่มสุขภาพแต่ขอให้เลือกชนิด “หวานน้อย” จะช่วยดับหิวและอยู่ท้องได้นานดี เหมาะกับเป็นเครื่องดื่มช่วงบ่ายหรือยามดึกที่นึกเหงากระเพาะขึ้นมา
การหานมถั่วเหลืองมาดื่มจะช่วยเพิ่มพลังสมองได้ด้วยจากโปรตีนที่ย่อยง่ายในถั่วเหลืองครับ
7) น้ำกระเจี๊ยบ น้ำใบเตย น้ำมะตูม
หากน้ำสมุนไพรไม่เติมหวานจนเกินไปจะเป็นเครื่องดื่มช่วงอาหารว่างที่ดีมาก
อย่าง น้ำกระเจี๊ยบ ช่วยทางเดินปัสสาวะ น้ำใบเตย ช่วยดับร้อน ส่วนน้ำมะตูมช่วยให้สงบเย็น เป็นน้ำสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วยบ่ายและค่ำที่มาจากการทำงานระหว่างวันได้
8) มะเขือเทศราชินี
นอกจากนั้น ยังมีส้มโอ ฝรั่งสด แอปเปิ้ล และแก้วมังกร ที่นึกหิวเมื่อไรก็ให้หยิบรับประทานเล่นให้ชื่นใจช่วงบ่ายได้ หรือใช้ทำสมูทตี้ก็เข้ากันดี มะเขือเทศราชินีมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม ลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมาก
ส่วนแอปเปิ้ล ส้มโอ ฝรั่งสดกับแก้วมังกรช่วย “ล้างพิษ” กวาดขยะจากลำไส้เพราะมีใยอาหาร และใยอาหารยังช่วยให้ “น้ำตาล” กับ “ไขมัน” ไม่ขึ้นพรวดพราด เหมาะเป็นของว่างผู้ที่ต้องการคุมน้ำตาลด้วย
ขอบคุณ : นพ.กฤษดา ศิรามพุช,พบ.(จุฬาฯ)
วิทยากรประจำรายการคนสู้โรค ไทยพีบีเอส.
ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ
American Board of Anti-aging medicine.
*** ควรรับการประเมินสุขภาพฯ จากทางชมรมฯ ก่อนก็ดีนะครับ จะดูแลสุขภาพได้ตรงจุด ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดครับ
|
|
|
Post by Admin on Sept 1, 2014 19:59:50 GMT 7
หัวหอมใหญ่ดีอย่างไร?
อาหารไทยเราใส่หอมหัวใหญ่ก็เพื่อช่วยดับกลิ่นคาว
แต่ที่จริงแล้วประโยชน์ของหอมหัวใหญ่มีมาก
กว่าแค่กลบกลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะหอมชนิดนี้เป็นที่รวมตัวของสารอาหารสารพัดอย่างชนิดที่หาผักอื่นเทียบได้ยาก ทั้งแมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม กำมะถัน ซีลีเนียม เบตาแคโรทีน กรดโฟลิก และฟลาโวนอยด์เควอเซทิน
หอมหัวใหญ่จึงเป็นผักที่เสริมสุขภาพได้มากมาย
ไม่ว่าจะช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ สลายลิ่มเลือด ลดอาการปวดอักเสบ ทำให้เจริญอาหาร แก้หวัด คัดจมูก แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องร่วง แก้ธาตุไม่ปกติ ช่วยขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด กระจ่ายเลือด แก้บวม แก้ปวด มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค แก้ลมพิษ ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ ขับพยาธิ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ แก้ความดันโลหิตสูง ลดคอเลสเตอรอลในเลือด แก้ภูมิแพ้หอบหืด และเบาหวาน
*** ควรรับการประเมินสุขภาพฯ จากทางชมรมฯ ก่อนก็ดีนะครับ จะดูแลสุขภาพได้ตรงจุด ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดครับ
|
|
|
Post by Admin on Sept 1, 2014 20:03:54 GMT 7
มีหลายอาการที่เราจำเป็นต้องสังเกตหรือสำรวจอาการผิดปกติให้ชัดเจน เช่นอาการปวดหัว ปวดท้อง ปวดเมื่อย ฝ้า/กระ สิว ปวดเส้น ... เหล่านี้ อาจมีสาเหตุมากมายจนเหมือนกับต่างอาการ //
ปวดหัวปวดศีรษะ มีสาเหตุมากจริงๆ ทั้งสายตา ประสาทตา หลอดเลือด ระบบหัวใจ ความดัน เซลล์สมอง ภูมิแพ้ ก้อนเนื้อหรือมะเร็ง ....
ปวดท้องก็มิใช่เพียงกระเพาะหรือลำไส้ อาจหมายถึงระบบตับ หัวใจ อาการประสาทกล้ามเนื้อจากด้านหลัง ก้อนเนื้อหรือมะเร็ง ...
อาการปวดเมื่อยก็อาจมาจากภาวะน้ำในร่างกาย เลือด ระบบหัวใจส่งเลือด หลอดเลือด กระดูกและกล้ามเนื้อ ภาวะการคัดหลั่งสารในร่างกาย ....
อาการฝ้า/กระ มิได้หมายถึงผลจากแสงแดดเท่านั้น เพราะมีผลจากฮอร์โมน ระบบเลือด ภาวะสมดุลของน้ำในร่างกาย ภาวะกรดและด่าง อาการต่อเนื่องจากกระดูกและไต
เราจะเห็นภาพของภาวะอาการต่างๆ ของร่างกายได้ชัดเจนขึ้นว่า ส่วนใหญ่มิได้เกิดจากเชื้อโรค(ซึ่งต้องอาศัยยา) แต่เกิดจากการทานและดื่ม, การใช้ยามากเกินหรือซื้อยามาทานเอง เกิดจากขาดสารอาหารที่จำเป็น หรือบริโภคสารอาหารบางอย่างมากเกิน
*** ควรรับการประเมินสุขภาพฯ จากทางชมรมฯ ก่อนก็ดีนะครับ จะดูแลสุขภาพได้ตรงจุด ถูกต้องและเหมาะสมที่สุดครับ
|
|
|
Post by Admin on Sept 1, 2014 20:09:05 GMT 7
รู้จักและเข้าใจ “ตับ” ดูแลรักษา “ตับ”
For those interested in your liver surviving healthily beyond your golden years.
สำหรับผู้ห่วงใยในสุขภาพที่ดีของตับในร่างกาย
Good rest and sound sleep is very Important... if u don't sleep well, ! The toxic in your body will accumulate.. Affecting your health and your mood...
การพักผ่อนที่เพียงพอและการนอนหลับที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าหากคุณยังมีปัญหาในการนอนหลับ พิษและของเสียที่อยู่ในร่างกายย่อมจะสะสมและเป็นปัญหาต่อสุขภาพและอารมณ์ของคุณเอง
The main causes of liver d amage are:
สาเหตุหลักที่ทำลายตับของคุณคือ
1. Sleeping too late and waking up too late are the primary causes.
นอนดึกและตื่นสายเป็นต้นเหตุลำดับต้น ๆ
2. Not urinating in the morning.
การไม่ปัสสาวะในตอนเช้า
3. Too much eating.
ทานจุเป็นประจำ
4. Skipping breakfast.
ไม่รับประทานอาหารเช้า
5. Consuming too much medication.
บริโภคยามากเกินไป
6. Consuming too much preservatives, additives, food coloring, and artificial swee! tener.
บริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของวัตถุกันเสีย สีผสมอาหาร วัตถุปรุงแต่ง และน้ำตาลเทียม
7. Consuming unhealthy cooking oil. As much as possible reduce cooking oil use when frying, which includes even the best cooking oils like olive oil. Do not consume fried foods when you are tired, except if the body is very fit.
บริโภคน้ำมันที่ใช้ทำอาหารซึ่งด้อยคุณภาพและไม่เป็นประโยชน์ ถ้าหากคุณสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันในการทอดอาหารซึ่งรวมถึงการใช้น้ำมันที่ดีที่สุดที่ใช้ทำอาหารเช่นน้ำมันมะกอก จงหลีกเลี่ยงการบริโภคของทอดเมื่อคุณมีอาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลีย ยกเว้นถ้าหากร่างกายคุณฟิต
8. Consuming overly done foods also add to the burden of liver. Veggies should be eaten raw or cooked 3-5 parts. Fried veggies should be finished in o¬ne sitting, do not store.
บริโภคอาหารที่ผ่านการปรุงมากเกินไปย่อมสร้างภาระแก่ตับ ผักควรทานสด ๆ หรือผ่านการทำให้สุกเพียง 3-5 ส่วน ผักที่ผ่านการผัดควรจะบริโภคให้หมดในมื้อเดียว อย่าเก็บไว้ทานในมื้ออื่น ๆ
We just have to adopt a good daily lifestyle and eating habits. Maintaining good eating habits and time condition are very important for our body to absorb and get rid of unnecessary chemicals according to "schedule."
เราจะต้องพยายามปรับวิถีการดำเนินชีวิตโดยเฉพาะนิสัยการกิน การปลูกฝังนิสัยการกินที่ดีและดูแล! ปัจจัยเรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ร่างกายของเราได้รับประโยชน์และสามารถกำจัดสารที่ไม่เป็นประโยชน์ในร่างกายตามตารางเวลาที่ควรจะเป็น
Because : เพราะ
Evening at 9 - 11pm : is the time for eliminating unnecessary/ toxic chemicals (de-toxification) from the antibody system (lymph nodes). This time duration should be spent by relaxing o r listening to music. If during this time a housewife is still in an unrelaxed state such as washing the dishes or monitoring children doing their! homework, this will have a negative impact o¬n her health.
ช่วงเวลากลางคืน 3 ทุ่ม - 5 ทุ่ม : เป็นระยะเวลาที่ร่างกายจะกำจัดสารพิษต่าง ๆ โดยระบบต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย (ระบบหมุนเวียนของน้ำเหลืองในร่างกาย) ช่วงเวลานี้ควรจะต้องถูกใช้ไปในการพักผ่อนหรือผ่อนคลายด้วยการฟังดนตรี ถ้าหากช่วงเวลานี้แม่บ้าน! ยังคงวุ่นอยู่กับงานบ้านเช่นล้างจานหรือดูและเด็กให้ทำการบ้าน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลลบต่อร่างกาย
Evening at 11pm - 1am : The de-toxification process in the liver, and ideally should be done in a deep sleep state. Early morning 1 - 3am : de-toxification process in the gall, also ideally done in a deep sleep state.
ช่วงเวลากลางคืน 5 ทุ่ม - ตี 1 : กระบวนการกำจัดสารพิษในตับ และแน่นอนควรจะต้องอยู่ในช่วงก ารนอนหลับสนิท ในช่วงเช้าระหว่างเวลาตี 1 ถึง ตี 3 นั้น กระบวนการกำจัดสารพิษในน้ำดีก็ควรจะเป็นช่วงแห่งการนอนหลับสนิทเช่นกัน
Early mo! rning 3 - 5am : de-toxification in the lungs. Therefore there will sometimes be a severe cough for cough sufferers during this time. Since the de-toxification process had reached the respiratory tract, there is no need to take cough medicine so as not to interfere with toxin removal process.
ช่วงเวลาตี 1 - ตี 3 : การกำจัดสารพิษในปอด เพราะฉนั้นอาจจะมีอาการไออย่างรุนแรงสำหรับผู้ที่มีปัญหาการไอในช่วงเวลาดังกล่าว ตอนนี้กระบวนการกำจัดสารพิ! ษจะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว และก็ไม่จำเป็นที่คุณจะใช้ยา แก้ไอเพื่อที่จะได้ไม่ไปขัดขวางขั้นตอนการกำจัดสารพิษในร่างกาย
Morning 5 - 7am : de-toxification in the colon, you should empty your bowel.
ช่วงเช้า ตี 5 - 7 โมงเช้า : การกำจัดสารพิษในปลายลำไส้ใหญ่ ก็ถึงเวลาที่จะต้องทำให้พุงและลำไส้ของคุณว่างลง
Morning 7 - 9am : Absorption of nutrients in the small intestine, you should be having breakfast at this time. Breakfast should be earlier, before 6:30am, for those who are sick. Breakfast before 7:30am is very beneficial to those wanting to stay fit. Those who always skip breakfast, they should change their habits, and it is still better to eat breakfast late until 9 -10am rather than no meal at all. Sleeping so late and waking up too late will disrupt the process of removing unnecessary chemicals. Aside from that, midnight to 4am is the time when the bone marrow produces blood.
ช่วงเช้า 7 - 9 โมงเช้า : การดูดซึมสารอาหารสู่ลำไส้เล็ก คุณควรจะต้องทานอาหารเช้าในช่วงเวลานี้ อาหารเช้าควรจะก่อน 6.30 น. สำหรับผู้ป่วย อาหารเช้าที่ทานก่อน 7.30 น. นั้นดีต่อผู้ที่ต้องการมีร่างกายสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ใดที่ไม่ทานอาหา รเช้าตลอดเวลาควรจะต้องรีบเปลี่ยนพฤติกรรมนี้เสีย และการทานอาหารเช้าในช่วงสายตั้งแต่ 9 - 10 น. ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรลงไปในท้องเลย การนอนดึกตื่นสายนั้นเป็นปัญหาต่อกระบวนการทำลายของเสียในร่างหาย นอกจากนั้นช่วงเที่ยงคืนถึงตี 4 ก็ยังเป็นเวลาที่ร่างกายผลิตเลือด
Therefore, have a good sleep and don't sleep late.
เพราะฉนั้น อย่านอนดึกและอย่านอนตื่นสาย
Sharing Is Caring!
การแบ่งปันเป็นการแสดงความห่วงใย
Live Well & Worry Less.
ขอให้มีสุขภาพดีและไม่มีความกังวล
(ขอขอบคุณ EduZones)
|
|
|
Post by Admin on Sept 1, 2014 20:13:42 GMT 7
สัปดาห์ก่อนคุณหมอท่านหนึ่งดูไม่อ้วนอะไรเลย ไปตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงหรืออัลตราซาวนด์ช่องท้อง และตรวจพบไขมันในตับสูง (fatty liver) เป็นไปได้หรือที่คนผอมจะมีไขมันในตับสูงได้
วันนี้มีคำแนะนำจากเมโยคลินิกมาฝากครับ
...
ภาวะไขมันในตับสูงโดยไม่ได้ดื่มเหล้าหรือดื่มน้อยมาก (nonalcoholic fatty liver disease) ส่วนใหญ่จะไม่ทำให้เกิดอาการหรือโรคอะไร (steatosis) ส่วนน้อยอาจทำให้เกิดตับอักเสบ (nonalcoholic steatohepatitis / NASH) ซึ่งอาจทำให้เกิดตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้
โรคนี้พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ทว่า... พบมากที่สุดในคนวัยกลางคนที่มีน้ำหนักเกิน อ้วน เป็นเบาหวาน มีค่าโคเลสเตอรอล (ไขมันในเลือด) หรือไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง
...
คนในซีกโลกตะวันตก (ฝรั่ง) อ้วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีการคาดการณ์กันว่า ประชากรสหรัฐฯ 1 ใน 3 มีไขมันในตับสูง
คนที่มีไขมันในตับสูงส่วนใหญ่อยู่แบบสบายๆ ไม่มีอาการอะไร ส่วนน้อยมีอาการที่ไม่ชัดเจน เช่น อ่อนเพลีย เพลียง่าย ไม่สบายหรือแน่นท้องด้านขวาตอนบน ฯลฯ
...
ภาวะไขมันในตับสูงมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการเมทาโบลิค (metabolic syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เพิ่มความเสี่ยง (โอกาสเป็น) โรคเบาหวาน หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต
กลุ่มอาการเมทาโบลิคได้แก่
• อ้วน โดยเฉพาะอ้วนลงพุง
• ความดันเลือดสูง
• ไขมันในเลือดชนิดไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) สูง
• ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล) ชนิดดี (HDL) ต่ำ
• ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (ว่าที่เบาหวาน หรือใกล้เป็นเบาหวานขึ้นไป) ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
...
ทำไมไขมันในตับที่ดูเหมือนนิ่ง สงบเสงี่ยมมาเป็นเวลานาน และไม่ค่อยมีอาการ ถึงได้ "ดุ" หรือ "โหด" ขึ้นมาในคนบางคน
เรื่องนี้นักวิจัยหลายท่านกล่าวว่า การมีไขมันในตับสูงอาจเปรียบได้กับ "การโจมตีครั้งที่ 1 (first hit)" คล้ายๆ การแทรกซึมของผู้ก่อการร้าย
...
ส่วนการอักเสบในตับไปจนถึงตับแข็ง หรือมะเร็งน่าจะเป็นผลจากการ "โจมตีครั้งที่ 2 (second hit)" ซึ่งอาจเปรียบได้กับการก่อการร้ายแบบเต็มตัว
สาเหตุที่อาจกระตุ้นให้เกิดการโจมตีครั้งที่ 2 มีหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อ (เช่น เหงือกอักเสบเรื้อรัง ฯลฯ) ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง (เช่น อายุมากขึ้น ฯลฯ) การได้รับธาตุเหล็กมากเกิน (เช่น กินเนื้อ เลือด หรือยาบำรุงเลือดมากเกิน ฯลฯ) ลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งแต่ละคนจะต่างกันไป ฯลฯ
...
ปัจจัยเสี่ยงของโรคตับมีไขมันมากมี 2 กลุ่มได้แก่
(1). ปัจจัยที่สำคัญมากได้แก่ น้ำหนักเกินหรืออ้วน เบาหวาน ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง
...
คนที่มีโรคตับอักเสบจากไขมันในตับสูง (NASH)
• มากกว่า 70% เป็นคนอ้วน
• 3 ใน 4 เป็นโรคเบาหวาน
• มีไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง (อาจถึง 80%)
...
(2). ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงไปได้แก่ การผ่าตัดช่องท้อง (เช่น การผ่าตัดลำไส้เพื่อลดความอ้วน ฯลฯ) ยาบางชนิด (เช่น ฮอร์โมนเพศทดแทนหลังหมดประจำเดือน ฯลฯ) โรคพันธุกรรมบางอย่าง
...
ข่าวดีคือ โรคนี้ป้องกัน หรือชะลอไม่ให้โรคแย่ลงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
• ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน)
• ออกแรง-ออกกำลัง
• ควบคุมเบาหวาน (ระดับน้ำตาลในเลือด) ให้ดี
• ลดระดับไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอล (ถ้าสูง)
...
(1). ลดน้ำหนัก
• สูตรอาหารที่ช่วยลดความอ้วน หรือลดน้ำหนักได้ดีประกอบด้วยอาหารที่มีเส้นใย (ไฟเบอร์) สูง เช่น ผัก ผลไม้ที่ไม่หวานจัดทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) ธัญพืชไม่ขัดสี (เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังเติมรำ ฯลฯ) ให้กำลังงานต่ำ (เช่น ไม่ผ่านการผัด ทอด หรือเติมน้ำตาล ฯลฯ) และมีไขมันไม่เกิน 30% ของกำลังงานทั้งหมด (ประมาณ 15% ของปริมาณทั้งหมด)
...
• ลดน้ำหนักช้าๆ สัปดาห์ละไม่เกิน 0.5 (ครึ่ง) กิโลกรัมกำลังพอดี
• การลดน้ำหนักเร็วๆ มากๆ อาจทำให้ไขมันจับตับมากขึ้นได้
...
(2). การออกแรง-ออกกำลัง
• อาหารสุขภาพ (ตามข้อ 1) และการออกแรง-ออกกำลังพอประมาณมีส่วนช่วยลดการอักเสบ ลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดการอักเสบของตับ
...
(3). ควบคุมเบาหวานให้ดี
• การรักษาเบาหวานไม่ได้ขึ้นกับยาเพียงฝ่ายเดียว ทว่า... ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างการควบคุมอาหาร การออกแรง-ออกกำลัง และยา
(4). ลดระดับไขมันในเลือด
• ควรลดระดับไขมันหรือโคเลสเตอรอลในเลือดด้วยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลัง หรือใช้ยา (ถ้ามีข้อบ่งชี้) มีส่วนช่วยให้โรคนี้ทุเลาลงได้
...
(5). หลีกเลี่ยงสารพิษ
• ควรลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ) และสารเคมีหรือยาที่มีพิษต่อตับ เช่น ไม่กินยาแก้ปวดพาราเซตามอลเกินขนาด หรือกินติดต่อกันนานเกิน (7 วัน) ฯลฯ
...
การป้องกันโรคนี้เสียตั้งแต่ต้นเป็นดีที่สุด สรุปการป้องกันโรคที่สำคัญได้แก่
• (1). ระวังอย่าให้อ้วน
...
• (2). ป้องกันโคเลสเตอรอล หรือไขมันในเลือดสูง โดยการควบคุมอาหาร ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
• (3). ระวังอย่าให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยการกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ พอประมาณ กินผักให้มากหน่อย กินผลไม้ที่ไม่หวานจัดพอประมาณ กินถั่ว กินช้าๆ และถ้าเป็นเบาหวาน... ควรรักษาให้ต่อเนื่อง
...
• (4). ลด-ละ-เลิกการดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ ไวน์ ฯลฯ)
เมื่อคนบนโลกอ้วนกันมากขึ้น... เราก็จะมีโอกาสพบโรคไขมันในตับสูงเพิ่มขึ้น หรือแม้คนที่ไม่อ้วน... ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง เช่น ไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอลสูง ฯลฯ ก็มีโรคไขมันในตับสูงได้
...
เรียนเสนอให้พวกเราหันมาใส่ใจสุขภาพตับ เพื่อสุขภาพจะได้ดีไปนานๆ ครับ
|
|
|
Post by Admin on Sept 2, 2014 10:00:17 GMT 7
ทำไมไตจึงสำคัญต่อสุขภาพ
ไต เป็นอวัยวะภายในที่อยู่บริเวณบั้นเอวทั้งสองข้าง มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว โดยมีหน้าที่หลักคือ กำจัดของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด รวมถึงสร้างฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความดันโลหิต ผลิตเม็ดเลือดแดง และรักษาความแข็งแรงของกระดูกอีกด้วย
โรคไตเรื้อรังคืออะไร
โรคไตเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตถูกทำลายอย่างต่อเนื่องและถาวร ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง โดยสาเหตุของโรคไตเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
ที่สำคัญของโรคไตคือ โรคไตอาจมีอาการแย่ลงได้ทีละน้อย ทำให้ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคไตอยู่จนกว่าจะมีอาการแย่แล้ว ดังนั้น การตรวจพบและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตและความรุนแรงของโรคได้
อาการของโรคไตเรื้อรัง
โรคไตในระยะเริ่มแรกอาจไม่มีอาการรุนแรง แต่เมื่อการทำงานของไตเสื่อมลงมากแล้ว อาจมีอาการ เช่น อ่อนแรง คิดอะไรไม่ออก เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ผิวแห้ง คัน กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน เท้าและข้อเท้าบวม ตาบวมโดยเฉพาะตอนเช้า ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน
ผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคไตเรื้อรังและควรเข้ารับการตรวจสุขภาพ
เป็นโรคเบาหวาน
มีความดันโลหิตสูง
มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
อายุมาก
น้ำหนักเกินหรืออ้วน
สูบบุหรี่
การป้องกันหรือการชะลอความเสื่อมของไต
การดูแลสุขภาพไตเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกันหรือชะลอความเสื่อมของไต คุณสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพของไตได้ดังนี้
ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 135/85 มิลลิเมตรปรอท
หากเป็นเบาหวาน ควรรักษาระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ให้น้อยกว่า 7%
ควบคุมปริมาณไข่ขาวหรือโปรตีนที่รั่วในปัสสาวะให้ต่ำกว่า 1 กรัมใน 24 ชั่วโมง
งดสูบบุหรี่
กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม อาหารโปรตีนสูง อาหารมัน
ออกกำลังกายอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
หลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือสารที่มีผลต่อไต เช่น ยาแก้ปวดบางชนิด ยาสมุนไพร การฉีดสี
พบแพทย์ตามนัดและติดตามการทำงานของไตอย่างต่อเนื่อง
ใครที่ละเลยหรือเพิกเฉยการดูแลสุขภาพ “รักไต ใส่ใจสุขภาพ” กันตั้งแต่วันนี้ เพื่อลดโอกาสการเป็นโรคไตและชะลอการเสื่อมของไต รักษาไตให้มีสุขภาพดีไปอีกนานๆ
(ขอขอบคุณ รพ.บำรุงราษฎร์)
หลายคนคงคิดนะครับว่าชีวิตนี้มีกรรมที่ต้องคอยไปฟอกไต ล้างไต หรือขนาดต้องเปลี่ยนไต เพราะเมื่อไตสูญเสียประสิทธิภาพการ
ทำงานไป เราก็จำเป็นต้องหาวิธีอื่นๆ มาพยุงไตให้สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ เพื่อต่อชีวิตของเจ้าของไตนั้น
ไต มีหน้าที่อะไร
ก่อนที่จะรู้จักโรคไต เราควรที่จะทำความรู้จักกับอวัยวะที่มีชื่อว่า ไต หรือ kidney กันก่อนครับ ไตเป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกายมนุษย์ที่มีความมหัศจรรย์ และมีจำเป็นอย่างมากในการดำรงชีวิต คนปกติมีไต 2 ข้าง วางอยู่บริเวณกลางหลังข้างละ 1 อัน ไตทำหน้าที่กลั่นกรองน้ำ เกลือแร่ และสารเคมีส่วนเกินที่ร่างกายไม่ต้องการ พร้อมกับทำการคัดหลั่งของเสียออกจากร่างกาย ในรูปของน้ำปัสสาวะผ่านกรวยไตลงไปเก็บกักในกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้พร้อมในการกำจัดทิ้งออกทางท่อปัสสาวะ
นอกจากนี้ ไตยังทำหน้าที่ปรับสมดุลของสารน้ำ เกลือแร่ในร่างกายและทำการสร้างสารและฮอร์โมนอีกหลากหลายชนิด ได้แก่ วิตามินดี ฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด และฮอร์โมนควบคุมความดันโลหิต เมื่อความบกพร่องเกิดขึ้นกับไต จนไตไม่สามารถทำหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ ในระยะแรกอาจพบความผิดปกติเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรง เช่นตรวจพบเพียงโปรตีนไข่ขาวรั่วในปัสสาวะจากการตรวจสุขภาพประจำปี โดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ทำการรักษา จนไตเสื่อมหน้าที่มากขึ้น จะเกิดภาวะที่เรียกว่า ภาวะไตวายเรื้อรัง
เมื่อไต เสียหน้าที่
ภาวะไตวายเรื้อรังในระยะนี้ ยังสามารถแก้ไขให้ไตกลับคืนหน้าที่ได้ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ต่อเนื่องและเหมาะสม แต่หากปล่อยปละละเลยจนไตเสื่อมทุกหน้าที่อย่างสมบูรณ์ และถาวร จนเกิดภาวะที่เรียกว่า ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย
หนทางเดียวที่แพทย์จะสามารถรักษาชีวิตให้ได้ก็คือ การบำบัด ทดแทนไต เช่น การฟอกเลือด การฟอกไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไตใหม่ให้ แม้ว่าจะได้รับการปลูกถ่ายไตใหม่ ก็ใช่ว่าไตนั้นจะใช้งานได้เหมือนอย่างไตของคนปกติ เพราะไม่ใช่ไตที่ติดตัวเรามาแต่กำเนิด ร่างกายต้องปรับตัวเข้ากับไตใหม่ ไตใหม่ที่ปลูกถ่ายมานี้ส่วนใหญ่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่เกินสิบปี และเมื่อการเปลี่ยนไตสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจะต้องหลีกเลี่ยง และระวังกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากไตใหม่ที่ปลูกถ่ายใหม่นั้น ถือเป็นสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ที่กระตุ้นให้ภูมิต้านทานของร่างกายออกมาทำหน้าที่ต่อต้าน จึงจำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายไตจึงเสี่ยงต่อการเชื้อต่างๆ จากภายนอกได้ง่าย เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะดังกล่าวเข้ามาเยือนตัวคุณ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสนใจป้องกันตนเอง หมั่นตรวจสอบตัวคุณอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะความสะอาดของทั้งเครื่องใช้ อาหาร และการสัมผัสกับแหล่งเชื้อโรคในที่ต่างๆ เช่น ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด เป็นต้น
สัญญาณเตือนภัย ไตผิดปกติ
ทางการแพทย์สามารถแบ่งความผิดปกติของไตได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ โรคเส้นเลือดฝอยที่ไตอักเสบ โรคเนื้อเยื่อไตอักเสบ โรคไตวายเฉียบพลัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคติดเชื้อของไตและท่อทางเดินปัสสาวะ โรคความผิดปกติของท่อไตและถุงน้ำ โรคนิ่ว และโรคมะเร็งในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งแต่ละประเภทมีต้นเหตุก่อโรคมากมาย และมีอาการทางคลินิกแตกต่างกันหลากหลายครับ เช่น ในระยะแรกของผู้ที่มีไตวายเรื้อรัง อาจมีอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ คันตามตัว ต่อมาอาจพบอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ตุ่มรับรสของลิ้นทำงานเปลี่ยนไป น้ำหนักตัวลด ชาปลายมือปลายเท้า ขี้หนาว ปวดแสบปวดร้อนบริเวณเท้า ปวดศีรษะ เป็นต้น อาการเหล่านี้ไม่ใช่อาการเฉพาะของโรคไตอย่างเดียว แต่พบได้ในอีกหลายโรค
ดังนั้นเราสามารถสังเกตความผิดปกติของไตตนเองได้โดยสังเกตสัญญาณเตือนภัย 6 ประการดังนี้คือ
1. การเปลี่ยนแปลงของการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน ปัสสาวะออกน้อยลง เป็นต้น
2. มีอาการแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะขัด สะดุดหรือมีเศษนิ่วปนออกมา
3. ปัสสาวะมีเลือดปน ปัสสาวะมีสีน้ำล้างเนื้อหรือปัสสาวะเป็นฟอง
4. การบวมของใบหน้า ลำตัว ขา และเท้า
5. อาการปวดบั้นเอวหรือบริเวณสีข้าง (ไม่ต่ำกว่าเอวหรือไม่อยู่กลางหลัง)
6. ตรวจพบความดันโลหิตสูง
หากพบสัญญาณเตือนภัยข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ขอแนะนำให้คุณรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เนิ่นนานจนสายเกินแก้ คุณที่รู้สึกว่าตนเองสุขภาพดีมาก ไม่เคยเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาล บางคนเคยเป็นนักกีฬา ความแข็งแรงเหล่านี้ไม่ได้รับประกันว่า คุณจะไม่มีโอกาสเป็นโรคไต แม้จะไม่มีสัญญาณเตือนภัย ก็อาจจะมีโรคไตซ่อนเร้นในตัวแล้วก็เป็นได้ ทางที่ดีควรพิจารณา เคล็ดลับ 10 ประการป้องกันการเกิดโรคไตโดยเฉพาะคุณมีโรคประจำตัวบางอย่างที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไต เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเก๊าต์ (gout) โรคปวดเส้นหรือปวดกล้ามเนื้อที่ต้องรับประทานยาแก้ปวดเป็นประจำ เป็นต้น ยิ่งต้องปฏิบัติตามเคล็ดลับ 10 ประการอย่างเคร่งครัดนี้เลยครับ
1. หมั่นสนใจสุขภาพของตนเอง และไปรับการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี ซึ่งการตรวจสุขภาพนั้นมักรวมเอาการตรวจสุขภาพไตขั้นพื้นฐาน 3 ประการไว้ด้วย ได้แก่ การวัดความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ และการตรวจเลือดหาระดับของเสียในร่างกาย (ครีอะตินีน) ซึ่งทั้งสามอย่างนี้บอกได้ขั้นต้นว่าคุณมีโรคไตซ่อนอยู่หรือไม่ สำหรับค่าใช้จ่ายในการตรวจชุดนี้ (ราคาปีพ.ศ. 2548) ในโรงพยาบาลของรัฐจะอยู่ที่ประมาณ 150 บาท และในโรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกจะประมาณ 300 บาท
2. เลือกอาหารที่มีคุณค่า สุกสะอาด และมีประโยชน์ หลีกเหลี่ยงการกินอาหารไขมันสูง ไม่กินโปรตีนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ไตเสื่อม และไม่กินอาหารน้อยไป จนเกิดภาวะขาดสารอาหาร หลีกเหลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง และอาหารรสจัด การกินเค็มมากไปจะทำให้เกิดอาการบวม หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง และไตต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือส่วนเกินออก กินผักและผลไม้ให้มากยกเว้นหมอสั่งห้าม ลดปริมาณอาหารมื้อเย็น โดยเฉพาะมื้อดึก ให้ความสำคัญกับอาหารมื้อแรกของวัน ในกรณีที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง ควรถามหมอว่าคุณเป็นโรคไตเรื้อรังระดับใด กินอะไรได้บ้าง มากน้อยเพียงใด
3. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร หรือ 6-8 ถ้วยต่อวัน การดื่มน้อยไปจะทำให้ไตเสื่อม มากไปจะทำให้หัวใจวาย ควรเลือกเดินทางสายกลาง
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งในคนปกติและผู้ที่เป็นโรคไต ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค หรือการออกกำลังกายอื่นๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง หากเลือกยกน้ำหนักไม่ควรยกน้ำหนักที่มากเกินไป นอกจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายจะสามารถลดระดับความดันโลหิตลงได้ ลดไขมันส่วนเกิน ทำให้นอนหลับง่ายขึ้นและช่วยควบคุมน้ำหนักตัว การออกกำลังกายที่ดีควรจะต้องทำการอบอุ่นร่างกายหรือเรียกว่า “วอร์มอัพ” ก่อนประมาณ 5-10 นาที ต่อด้วยการยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise) เป็นเวลา 5 นาที ตามด้วยการออกกำลังอย่างต่อเนื่องข้างต้นอีก 5-30 นาที และจบด้วยการทำ breathing exercise และการทำ cool down อีก 5-10 นาที
แต่ละคนจะออกกำลังกายได้หนักเพียงใด เป็นเรื่องที่คาดคะเนได้ยาก โดยทั่วไปให้พิจารณาเริ่มต้นและจบลงทีละน้อย เพื่อให้ร่างกายปรับตัวได้ ไม่ควรออกกำลังกายหักโหมจนไม่สามารถพูดได้เป็นคำๆ หรือไม่หายจากอาการเหนื่อยนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงหลังพัก ไม่ควรออกกำลังกายเมื่อร่างกายไม่พร้อม เช่น มีไข้ หลังรับกินอาหารอิ่มใหม่ๆ เพิ่งเปลี่ยนยาที่กิน หลังผ่านการฟอกเลือดมาใหม่ๆ หรือรู้สึกว่าร่างกายไม่แข็งแรงพอ
5. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งมีผลกระทบทางอ้อมต่อไตทำให้ไตเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น
6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ที่อ้วนเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนัก ทำให้ไตเสื่อมหน้าที่เร็วขึ้น เพราะภาวะอ้วนจะทำให้โปรตีนรั่วในปัสสาวะเพิ่มขึ้น จากการกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไต ทำให้ความดันภายในไตสูงขึ้น โปรตีนที่รั่วนี้จะเป็นตัวทำลายไต การเปลี่ยนแปลงนี้จะดีขึ้นถ้าน้ำหนักตัวลดลง จึงควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วน
7. หลีกเหลี่ยงสารเสพติด รวมถึงบุหรี่และแอลกอฮอล์ นอกจากสารเสพติดจะทำลายสุขภาพโดยรวมแล้ว ยังทำลายไตโดยตรง การดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลเสียต่อทั้งตับและไต โดยเฉพาะคนที่ป่วยโรคไตควรเลิกดื่มจะดีที่สุด นอกจากการสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายได้รับสารพิษมากกว่า 50 ชนิดแล้ว ยังพบว่าไตของผู้ที่สูบจะเสื่อมหน้าที่เร็วขึ้น 1.2 เท่า ผลกระทบดังกล่าวยังเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ แต่ไปอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
8. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ บ่อยครั้งที่คนเราต้องกลั้นปัสสาวะนานๆ เช่น การที่ต้องค้างเติ่งบนรถที่ติดกันเป็นแพ หรือเดินทางในรถโดยสารทางไกล แน่นอนครับถ้าจำเป็นจริงๆ คงจะหลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ แต่พบว่าในบางคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะ ทั้งๆ ที่สามารถไปห้องน้ำได้ ที่พบบ่อยในปัจจุบัน ได้แก่ เด็กวัยรุ่นที่เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ พบว่าการกลั้นปัสสาวะนานๆ เป็นต้นเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ และเกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ ในบางรายทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้
9. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่อาจมีผลต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ ปวดเส้น ปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะเป็นยาในกลุ่ม “ยาเอ็นเสด (NSAIDs)” ซึ่งเป็นยาลดการอักเสบที่มีฤทธิ์แรงมาก แม้แต่ยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือมีการแพ้ยา ก็อาจเกิดอันตรายต่อไตได้ เช่น ซัลฟาอาจตกตะกอนในไตทำให้ปัสสาวะไม่ออกได้ ผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง จะต้องลดขนาดยาแก้อักเสบลง ดังนั้นควรปรึกษาหมอก่อนทุกครั้งที่กินยากลุ่มนี้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคไต แม้แต่ยาแก้ปวดชนิดที่เป็นแอสไพริน และพาราเซตามอล หากใช้ติดต่อกันเกิน 10 วันอาจทำให้ไตเสื่อมได้ ถ้าจำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้นานควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่มีการทำงานของไตและตับบกพร่อง ขอแนะนำว่าอย่ากินยาใดๆ โดยไม่ปรึกษาหมอก่อน และไม่ควรลองยาแปลกๆ ที่มีผู้อื่นแนะนำ รวมทั้งสมุนไพรต่างๆ ถ้ากินยาแล้วมีอาการเปลี่ยนแปลง ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที อย่ารอให้ยาหรือสารพิษทำลายไตของคุณหมดแล้วจึงค่อยมาพบ ถึงตอนนี้การรักษาใดๆ ก็ไม่สามารถทำให้ไตของคุณฟื้นได้ แต่ต้องรับการฟอกไตทดแทนไปตลอดชีวิต
10. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา ในท้องตลาดมีการขายสารอาหารต่างๆ มากมายเพื่อบำรุงสุขภาพ อาหารเสริมเหล่านี้ทางองค์การอาหารและยา (อย.) ได้จัดเป็นอาหารไม่ใช่ยา ดังนั้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไป และไม่จำเป็นต้องมาพบหมอก่อนซื้อ ในส่วนอาหารเสริมเหล่านี้ อย. ได้รับรองแล้วว่าคุณสามารถซื้อกินได้โดยไม่เกิดโทษ แต่ทางที่ดีก่อนจะซื้อ ควรอ่านฉลากอาหารที่แนบไว้ด้วยว่า อาหารเสริมมีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังประการใดบ้าง อาหารเสริมบางอย่างมีเกลือผสมอยู่มาก ทำให้เกิดโทษได้ในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังและโรคความดันโลหิตสูง นอกจากนี้พบว่าปัจจุบันมีอาหารหรือสารบางอย่างที่โฆษณาขายว่า “สามารถรักษาโรคไตอ่อนแอได้” คำโฆษณาเกินจริงเหล่านี้ ฟังดูน่าสนใจ เชื่อว่าผู้ที่มีโรคภัยไข้เจ็บอยู่แล้ว โดยเฉพาะคนที่มีโรคที่หมอบอกว่ารักษา ไม่มีทางหาย คงต้องอยากหายแน่นอน จึงอยากพบกับยาวิเศษ แต่คุณทราบไหมครับว่า สารหรืออาหารวิเศษที่ประกาศขายตามหนังสือรายสัปดาห์และหนังสือพิมพ์นั้น ไม่มีใครรับรองสรรพคุณ ถ้าเป็นยาดีจริง ทำไมไม่มีขายในโรงพยาบาล และถ้ายาเหล่านี้ดีจริง ทำไมต้องขายทางไปรษณีย์ที่คุณไม่มีทางรู้จักผู้ขายเลย คุณต้องส่งเงินหรือโอนเงินไปให้ ผลจากการหลงเชื่อเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยเกิดโรคไตวายเรื้อรังมาแล้วนับไม่ถ้วน ครับ
โดยสรุปที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นเคล็ดลับ สำหรับคนที่ไม่อยากเป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรืออย่างน้อยถ้าทำได้ก็จะช่วยยืดอายุไตของคุณออกไปอีกยาวนาน การดูแลตนเองเป็นหลักสำคัญสำหรับทุกคนครับ ที่ยังไม่เป็นหรือเป็นโรคไตระยะแรกๆ ซึ่งหมอยังมีบทบาทไม่มากนักในการสั่งจ่ายยา แต่ในระยะแรกๆ นี้ คนทั่วไปมักจะละเลยคิดว่าตนเองยังสบายดีอยู่ แต่เมื่อใดที่โรคไตเป็นมากขึ้น ก็ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมาพบกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งในกรณีหลังนี้ หมออยากบอกท่านว่า “ช้าไปแล้ว” อย่างไรก็ตามในทุกระยะของโรคไตเรื้อรัง พบว่าการปฏิบัติตามเคล็ดลับ 10 ประการได้ผลดีทั้งสิ้น ไม่ว่ามากหรือน้อยก็ตาม ก็จะช่วยยืดอายุการทำงานไตของคุณให้ยาวนานขึ้น
ผศ.นพ. เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต
|
|
|
Post by Admin on Sept 2, 2014 10:16:11 GMT 7
คอลัมน์...สายตรงสุขภาพกับศิริราช
คุณเชื่อหรือไม่ว่า ไต รับบทหนักในร่างกายคนเรา หากเปรียบก็คือโรงบำบัดน้ำเสียดีๆ นั่นเอง และจากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า คนไทยมีเปอร์เซ็นต์ความเป็นโรคไตสูงขึ้นตามลำดับ ปัจจุบันผู้ป่วยไตวายเรื้อรังต้องรับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และปลูกถ่ายไตรวมกันไม่ต่ำกว่า 15,000 ราย
ไต เป็นอวัยวะคู่ที่สำคัญต่อชีวิต อยู่บริเวณหลังช่องท้องด้านข้างใต้ต่อซี่โครงบริเวณส่วนกลางของหลัง มีรูปร่างเหมือนถั่ว ขนาดประมาณกำปั้นของตัวเอง หน้าที่หลักของไตคือการกรองของเสียในเลือดและควบคุมจำนวนน้ำ เกลือแร่และสารต่างๆ ในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล ในแต่ละวันจะมีเลือดไหลเวียนผ่านไตทั้ง 2 ข้างถึงประมาณ 230 ลิตร สามารถกรองน้ำและของเสียออกได้วันละ 2.3 ลิตร ซึ่งทั้งหมดนี้จะถูกขับออกมาเก็บไว้ในกระเพาะปัสสาวะ ก่อนถ่ายออกจากร่างกายเป็นน้ำปัสสาวะ
ของเสียในเลือดเกิดจากอาหารที่เรากินเข้าไป และบางส่วนจากการสลายตัวของเนื้อเยื่อในร่างกายที่เกิดจากการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงาน ต้องยอมรับเลยว่า ธรรมชาติสร้างไตขึ้นมาอย่างยอดเยี่ยมที่สามารถเลือกกรองเฉพาะของเสียหรือส่วนเกินของสารที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายหากสะสมไว้มากเกินไป โดยผ่านเครื่องกรองขนาดย่อยๆ กว่าล้านหน่วยที่เรียกว่า “nephrons” หากไตเกิดเสียสมรรถภาพในการกรองเลือดจากสาเหตุใดก็ตาม จะทำให้ระบบควบคุมเสียไป เกิดการคั่งของของเสียในเลือด ทำให้เกิดโรคไตวาย และเสียชีวิตในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีไตเทียม หรือปลูกถ่ายไต
นอกจากนี้แล้ว ไตยังเป็นที่สร้างฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกายอีกสามตัวคือ
1.Erythropoietin เป็นตัวกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง
2.Renin เอาไว้ควบคุมความดันโลหิต
3.Calcitriol หรือสารไวตามินดี ไว้ควบคุมระดับแคลเซียมในกระดูก
ใครบางคนถามว่าของเสียในเลือดเกิดจากสาเหตุใด
ศ.พญ.ลีนา องอาจยุทธ นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ อธิบายว่า สาเหตุใดก็ตามที่ไปทำลายเครื่องกรองย่อยๆ ของไต หรือทำลายการไหลเวียนของเลือดผ่านไต ก็อาจทำให้ไตเสียหายได้ ถ้าซ่อมไม่ได้ หรือเป็นเรื้อรัง ไตก็จะวายในที่สุด
สาเหตุที่พบบ่อยคือ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง นิ่วในไตหรือท่อไต โรคภูมิคุ้มกันต้านตัวเอง(autoimmune diseases) โรคติดเชื้อทางไต โรคพันธุกรรมทางไต สารพิษต่อไต หรือการใช้ยาผิด เช่น กินยามากเกินปริมาณที่กำหนด ซื้อยากินเองนานๆ โดยเฉพาะยาที่เป็นพิษต่อไต ประเภทยาแก้ปวดข้อ ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นประจำ เป็นต้น
อาการแสดงของโรคไต
จากการที่คนเรามีไต 2 ข้าง และธรรมชาติได้สร้างเครื่องกรองย่อยในไตเผื่อไว้มาก จึงทำให้ไตทำหน้าที่ได้ราบรื่น แม้จะเหลือไตที่สมบูรณ์อยู่เพียงข้างเดียวก็ตาม เราก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย แต่ถ้าเครื่องกรองเสียไปเหลือเพียง 25% ไตจะเริ่มแสดงความบกพร่องให้เห็น โดยจะปรากฏอาการให้ทราบว่า ไม่ดีแล้วนะ
อาการแสดงที่พบได้คือ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด ปัสสาวะสีเข้มแบบสีน้ำล้างเนื้อ บวมที่หน้า เท้า ปวดหลัง ปวดเอว เบื่ออาหาร คลื่นไส้และความดันโลหิตสูง เป็นต้น
หากตรวจปัสสาวะก็จะพบสารโปรตีน หรือสารไข่ขาวในปัสสาวะที่รั่วออกมา
ตรวจเลือดก็จะพบสารของเสียคั่ง เช่น สาร creatinine, blood urea nitrogen (BUN) ซึ่งไตไม่สามารถกรองออกมาได้ตามปกติ
หากไตเสื่อมลงไปอีก จนเหลือไม่ถึง 10-15% ก็จะเริ่มเกิดอาการไตวายระยะสุดท้าย และหากแพทย์ไม่เข้าไปช่วยเหลือโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หรือล้างของเสียผ่านทางช่องท้องตลอดชีวิต หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไตแล้ว ผู้ป่วยก็มักลงเอยด้วยการเสียชีวิตในที่สุด
สถานการณ์การรักษาโรคไต ปี 2548
น่าเป็นห่วงทีเดียว เพราะจากข้อมูลของสมาคมโรคไตในปี 2548 พ.อ.นพ.ถนอม สุภาพร ประธานอนุกรรมการลงทะเบียนรักษาบำบัดทดแทนไต สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยพบว่า ขณะนี้ทั่วประเทศมีศูนย์รักษาโรคไตอยู่ประมาณ 350 แห่ง โดย 42% จะอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคกลางเท่านั้น มีเพียง 51 แห่งที่มีบริการล้างของเสียทางช่องท้องได้ และมีเพียง 24 แห่งที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตได้
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยโรคไตที่เข้ารับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมทั้งหมดถึง 12,614 คน ล้างทางช่องท้องถาวร 729 คน และทำการปลูกถ่ายไตจำนวน 1,542 คน เฉพาะในปี 2547 มีผู้ป่วยโรคไตวายใหม่ 7,871 รายต่อปี หรือคิดเป็น 125 รายต่อประชากรล้านคน
ตัวเลขนี้คาดว่ายังต่ำกว่าความเป็นจริงถึง 3 เท่าตัว เพราะส่วนมากไม่ได้รับการรักษา และต้องเสียชีวิตไปด้วยเพราะไม่มีเงินรักษา หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ หากคำนวณค่าใช้จ่ายในการนี้แล้ว จะอยู่ที่คนละประมาณไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาทตลอดชีวิต นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายปีละไม่ต่ำกว่า 3,600 ล้านบาท
10 วิธีห่างไกลโรคไต
เพื่อความไม่ประมาท รศ.นพ.ทวี ศิริวงศ์ ประธานคณะทำงานวันไตโลก ได้แนะนำวิธีดูแลตัวเองแบบง่ายๆ มาฝากกัน
1.ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง
3.ในกลุ่มคนที่เริ่มมีไตเสื่อม ต้องควบคุมอาหารประเภทโปรตีน เกลือและโคเลสเตอรอล
4.หยุดสูบบุหรี่
5.ห้ามใช้ยาเกินขนาด หรือยาที่มีพิษต่อไต เช่น ยาแก้ปวดข้อ คลายเส้น ฯลฯ
6.รักษาเรื่องโลหิตจางที่เกิดจากโรคไต
7.หลีกเลี่ยงอาหารประเภทถั่วในคนที่มีระดับฟอสเฟตในเลือดสูง หรือผลไม้บางชนิดในคนที่มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง เช่น ขนุน ลำไย ทุเรียน
8.ป้องกันไม่ให้ทางเดินปัสสาวะติดเชื้ออักเสบบ่อยๆ
9.ใช้ยาขับปัสสาวะเท่าที่จำเป็น และต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ
10.ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
|
|