Post by Tanyaporn on Aug 18, 2014 18:42:53 GMT 7
กรุงเทพฯ – ทีมศัลยแพทย์ โรงพยาบาลตำรวจ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดไทรอยด์แบบส่องกล้องทางช่องปาก ไร้แผลเป็นที่ผิวหนังโดยสิ้นเชิง เป็นรายแรกและรายเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นรายที่ 4 ของโลก รองจากทีมศัลยแพทย์เยอรมัน ญี่ปุ่น และจีน ตามลำดับ โดย รพ.ตำรวจได้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2557 และนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนถึงปัจจุบัน ทีมศัลยแพทย์ได้ดำเนินการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ไปแล้ว 14 ราย ได้รับความพอใจอย่างสูงสุดจากคนไข้ทุกราย ขนาดก้อนไทรอยด์ที่ทำการผ่าตัดมีตั้งแต่ 3 – 10 ซม. (เฉลี่ย 6 ซม.) ใช้เวลาผ่าตัดเพียง 2 ชั่วโมง เฉลี่ยระยะเวลาพักฟื้น 3-4 วัน โดยไม่เกิดปัญหาแทรกซ้อนใดๆ และมีอาการเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดแบบเปิด นับเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของวงการศัลยแพทย์ไทย และสร้างมาตรฐานใหม่ของการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในอนาคต
นายแพทย์อังกูร อนุวงศ์ ศัลยแพทย์หน่วยผ่าตัดผ่านกล้อง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยว่า “เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความสำเร็จของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก และมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการสร้างมิติใหม่ทางการแพทย์ของไทย โดยวิธีการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน และสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์”
นพ.อังกูร อธิบายว่า การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปากแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ขนาด 1 ซม.ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง ขนาด 0.5 ซม. อีก 2 รู จากนั้นจะเลาะไปใต้ผิวหนังลงไปถึงคอบริเวณต่อมไทรอยด์โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษผ่าตัดโดยใช้กล้องและเครื่องมือตัดต่อมไทรอยด์ออกจากนั้นจึงเย็บแผลด้วยไหมละลาย โดยคนไข้จะสามารถกลับห้องพักฟื้นได้เลยและสามารถจะรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันที่สองหลังการผ่าตัด
“การผ่าตัดแบบนี้จะไม่มีแผลเป็น (scar) เกิดขึ้นที่ผิวหนังเลย 100% เนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไวมาก และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย ทั้งนี้ ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น และเราสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก คนไข้เจ็บน้อยมากและเสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 ซีซี – 20 ซีซี) จากการผ่าตัดของ รพ ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน โดยแพทย์จะรอดูอาการประมาณ 3-4 วัน หากไม่มีปัญหาก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดคนไข้ก็ไม่ต้องทำแผลใดๆ แผลที่เย็บไว้ในปากไหมจะละลายไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้คนไข้สามารถใช้ชีวิตและรับประทานอาหารได้ตามปกติ” นพ.อังกูรเผย
นพ.อังกูร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปาก หน่วยผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังสามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคที่ซับซ้อนอื่นๆ ได้ทุกโรค อาทิ เช่น การผ่าตัดโรคอ้วนเพื่อลดน้ำหนักผ่านกล้อง ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง ผ่าตัดมะเร็งตับ หรือตับอ่อน และถุงน้ำดีผ่านกล้อง ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง ผ่าตัดเพื่อลดภาวะเหงื่อออกมากผ่านกล้อง ผ่าตัดก้อนที่เต้านมผ่านกล้อง ผ่าตัดไตผ่านกล้อง
ล่าสุด กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม (Minimally Invasive Surgery Excellent Center) เพื่อทำการตรวจรักษา วิจัย และผ่าตัด โดยใช้การผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงให้แก่ประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการและการผ่าตัดผ่านกล้องชั้นนำของประเทศ และนานาชาติอีกด้วย
ผู้ป่วยสามารถติดต่อขอรับการตรวจได้ที่ ห้องตรวจโรคศัลยกรรม ตึกอำนวยการชั้น 3 โรงพยาบาลตำรวจ โทร. 02 207 6000 เว็บไซต์ www1.pgh.go.th/home.php?
###
วิวัฒนาการการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์โตในประเทศไทย
ภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มักมีสาเหตุมาจากการขาดสารไอโอดีน หรือแม้แต่ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เองทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนเห็นได้ชัด การรักษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่คอโตนั้นมักจะเริ่มด้วยการรับประทานยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อหวังให้ก้อนยุบลงหรือไม่โตขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่จะลงเอยด้วยการผ่าตัด เพื่อเอาต่อมไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างออก เพื่อป้องกันการเปลี่ยนเป็นมะเร็ง หรือก้อนโตขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ไม่สามารถทานอาหารหรือหายใจไม่สะดวก และในบางกรณีเพื่อความสวยงามของผู้ป่วยเอง
การผ่าตัดที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ก็คือการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด (Open surgery) โดยศัลยแพทย์จะทำการลงมีดที่บริเวณคอในแนวขวาง (Transverse collar incision) ซึ่งสามารถตัดไทรอยด์ออกได้หมดรวมถึงสามารถเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยในบางกรณี และแน่นอนว่าการผ่าตัดแบบเปิดนี้ ทำให้เกิดแผลเป็นที่คออย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแผลเป็นจะอยู่ที่คอ ภายนอกร่มผ้า ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดความไม่มั่นใจ
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องทางรักแร้ ยังมีข้อจำกัด เช่น ระยะทางจากรักแร้ไปถึงต่อมไทรอยด์มีระยะทางไกล ทำให้ต้องสร้างพื้นที่ทำงานใต้ผิวหนัง จากรักแร้ขึ้นไปหาไทรอยด์ค่อนข้างไกล เกิดผลให้การผ่าตัดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความยาวมักจะชนกันเอง หลังผ่าตัดคนไข้มักจะมีปัญหาชาบริเวณระหว่างรักแร้ถึงคอ และใช้เวลาพอสมควรในการที่เส้นประสาทจะกลับมาปกติ (เฉลี่ยมากกว่า 6 เดือน) นอกจากนี้ การผ่าตัดผ่านรักแร้สามารถทำการผ่าตัดได้ทีละข้าง เช่น เข้าทางรักแร้ซ้ายเพื่อผ่าตัดไทรอยด์ข้างซ้าย ถ้าต้องการผ่าไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ก็จำเป็นต้องลงแผลที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถือว่าทำให้เกิดแผลต่อคนไข้มากขึ้น และการผ่าตัดชนิดนี้ ก็ยังคงก่อให้เกิดแผลเป็น เพียงแต่แผลเป็นจะย้ายมาที่บริเวณรักแร้แทน ซึ่งยังคงสร้างความไม่มั่นใจให้แก่คนไข้หญิงบางราย
ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่านทางช่องปากกับคนไข้จริง ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ โดยมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังทำการผ่าตัดชนิดนี้กันในจำนวนน้อยมาก ส่วนประเทศอื่นยังคงเป็นการทดลองผ่าตัดในร่างอาจารย์ใหญ่ หรือในหมู ยังมิได้ริเริ่มผ่าตัดในคนไข้จริง ซึ่งเทคนิคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป
การผ่าตัดแบบนี้ ถือเป็น NOTES (Natural Orifice Transluminal Ensoscopic Surgery) ซึ่งลงแผลผ่านช่องธรรมชาติของคนไข้ จึงไม่เกิดแผลเป็นใดๆหลังผ่าตัดเลย และการผ่าตัด NOTES ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก คือ (1) ไร้แผลเป็นที่ผิวหนัง 100 % โดยจะลงแผลขนาดเล็ก 3 แผล 1 ซม. 0.5 ซม. และ 0.5 ซม. ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกล่าง กับริมฝีปากล่าง และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดและคีบเอาต่อมไทรอยด์ออกผ่านทางปาก และทำการเย็บปิดโดยใช้ไหมละลาย และเนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไว และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย (2) ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น (3) สามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก (4) สามารถมองเห็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงทั้ง 2 ข้างที่วางขนานหลอดลม ได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถเก็บเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงนี้ได้ดีกว่า ช่วยป้องกันคนไข้เสียงแหบหลังผ่าตัด (5) เสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 – 20ซีซี) (6) คนไข้มีอาการเจ็บน้อยมาก จากการผ่าตัดของ รพ. ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน และสามารถทานอาหารได้ตามปกติ (7) ไม่พบอาการชาที่ผิวหนังระหว่างคางถึงบริเวณไทรอยด์เดิม เนื่องจากสามารถเก็บรักษาเส้นประสาทบริเวณคาง
ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์ที่คอ ชนิดแผลเล็ก แต่ก็ยังมีแผลเป็นให้เห็นอยู่ที่คอ ต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องวีดีทัศน์ หลายๆวิธี เช่น ลงแผลที่รักแร้ หน้าอก หัวนม หลังหู เป็นต้น โดยการสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ออก โดยการผ่าตัดผ่านกล้องนี้ ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นที่คอที่เห็นได้ชัด แต่จะย้ายแผลไปที่บริเวณอื่นๆของร่างกายแทน
การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ สำหรับในประเทศไทย เทคนิคที่ทำกันแพร่หลายก็คือ ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ และในปัจจุบันมีศัลยแพทย์ในเมืองไทยที่สามารถผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ได้ประมาณ 30 คน
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องทางรักแร้ ยังมีข้อจำกัด เช่น ระยะทางจากรักแร้ไปถึงต่อมไทรอยด์มีระยะทางไกล ทำให้ต้องสร้างพื้นที่ทำงานใต้ผิวหนัง จากรักแร้ขึ้นไปหาไทรอยด์ค่อนข้างไกล เกิดผลให้การผ่าตัดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความยาวมักจะชนกันเอง หลังผ่าตัดคนไข้มักจะมีปัญหาชาบริเวณระหว่างรักแร้ถึงคอ และใช้เวลาพอสมควรในการที่เส้นประสาทจะกลับมาปกติ (เฉลี่ยมากกว่า 6 เดือน) นอกจากนี้ การผ่าตัดผ่านรักแร้สามารถทำการผ่าตัดได้ทีละข้าง เช่น เข้าทางรักแร้ซ้ายเพื่อผ่าตัดไทรอยด์ข้างซ้าย ถ้าต้องการผ่าไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ก็จำเป็นต้องลงแผลที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถือว่าทำให้เกิดแผลต่อคนไข้มากขึ้น และการผ่าตัดชนิดนี้ ก็ยังคงก่อให้เกิดแผลเป็น เพียงแต่แผลเป็นจะย้ายมาที่บริเวณรักแร้แทน ซึ่งยังคงสร้างความไม่มั่นใจให้แก่คนไข้หญิงบางราย
ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่านทางช่องปากกับคนไข้จริง ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ โดยมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังทำการผ่าตัดชนิดนี้กันในจำนวนน้อยมาก ส่วนประเทศอื่นยังคงเป็นการทดลองผ่าตัดในร่างอาจารย์ใหญ่ หรือในหมู ยังมิได้ริเริ่มผ่าตัดในคนไข้จริง ซึ่งเทคนิคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป
การผ่าตัดแบบนี้ ถือเป็น NOTES (Natural Orifice Transluminal Ensoscopic Surgery) ซึ่งลงแผลผ่านช่องธรรมชาติของคนไข้ จึงไม่เกิดแผลเป็นใดๆหลังผ่าตัดเลย และการผ่าตัด NOTES ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก คือ (1) ไร้แผลเป็นที่ผิวหนัง 100 % โดยจะลงแผลขนาดเล็ก 3 แผล 1 ซม. 0.5 ซม. และ 0.5 ซม. ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกล่าง กับริมฝีปากล่าง และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดและคีบเอาต่อมไทรอยด์ออกผ่านทางปาก และทำการเย็บปิดโดยใช้ไหมละลาย และเนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไว และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย (2) ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น (3) สามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก (4) สามารถมองเห็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงทั้ง 2 ข้างที่วางขนานหลอดลม ได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถเก็บเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงนี้ได้ดีกว่า ช่วยป้องกันคนไข้เสียงแหบหลังผ่าตัด (5) เสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 – 20ซีซี) (6) คนไข้มีอาการเจ็บน้อยมาก จากการผ่าตัดของ รพ. ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน และสามารถทานอาหารได้ตามปกติ (7) ไม่พบอาการชาที่ผิวหนังระหว่างคางถึงบริเวณไทรอยด์เดิม เนื่องจากสามารถเก็บรักษาเส้นประสาทบริเวณคาง
ขั้นตอนการผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปากของทีมศัลยแพทย์ รพ.ตำรวจ มีดังนี้ (1) คนไข้อยู่ในท่านอนหงายแหงนคอเล็กน้อย นำสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และใส่ท่อช่วยหายใจ (2) แพทย์ทำความสะอาดช่องปากคนไข้โดยใช้น้ำยาทำฆ่าเชื้อโรคแบบพิเศษ เพราะในช่องปากมีแบคทีเรียมาก (3) เจาะรูเล็กๆขนาดประมาณ 1 ซม. บริเวณตรงกลาง 1 รู ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง 0.5 ซม. อีก 2 รู และ เลาะจากรูที่เจาะในปากลงไปใต้ผิวหนัง ยาวลึกลงไปถึงต่อมไทรอยด์ ที่อยู่บริเวณคอ โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นมาพิเศษ (4) ทำการผ่าตัดโดยใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 20 เท่า และเครื่องมือที่มีความยาวประมาณ 30 ซม. สอดเข้าไป ผ่าตัดไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอ (5) ตัดและคีบต่อมไทรอยด์อออกจากรูในช่องปากที่สร้างไว้ จากนั้นทำการห้ามเลือดในบริเวณที่ผ่าตัด (6) เย็บปิดแผลที่ปาก และทำความสะอาด
หลังผ่าตัด คนไข้สามารถกลับไปที่ห้องพักฟื้น และแพทย์จะเริ่มให้จิบน้ำได้ คนไข้สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันรุ่งขึ้น ปกติแล้ว แพทย์จะให้คนไข้พักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน เพื่อดูอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาใดๆก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัด คนไข้จะไม่ปวดมากเหมือนการผ่าตัดชนิดเปิด บางรายหลังการผ่าตัดวันที่ 2 ก็ไม่มีอาการปวดหลงเหลืออยู่เลย และไม่ต้องทำแผลใดๆ แผลที่เย็บไว้ในช่องปากจะเป็นไหมละลาย ซึ่งจะละลายหมดไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้สามารถใช้ชีวิตประจำวัน และรับประทานอาหารได้ตามปกติ เสมือนไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อนเลย
นายแพทย์อังกูร อนุวงศ์ ศัลยแพทย์หน่วยผ่าตัดผ่านกล้อง กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลตำรวจ เปิดเผยว่า “เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งในความสำเร็จของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก และมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการสร้างมิติใหม่ทางการแพทย์ของไทย โดยวิธีการนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไข้ ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาไม่นาน และสร้างความมั่นใจให้กับคนไข้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์”
นพ.อังกูร อธิบายว่า การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปากแพทย์จะเจาะรูเล็กๆ ขนาด 1 ซม.ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง ขนาด 0.5 ซม. อีก 2 รู จากนั้นจะเลาะไปใต้ผิวหนังลงไปถึงคอบริเวณต่อมไทรอยด์โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นขึ้นมาเป็นพิเศษผ่าตัดโดยใช้กล้องและเครื่องมือตัดต่อมไทรอยด์ออกจากนั้นจึงเย็บแผลด้วยไหมละลาย โดยคนไข้จะสามารถกลับห้องพักฟื้นได้เลยและสามารถจะรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันที่สองหลังการผ่าตัด
“การผ่าตัดแบบนี้จะไม่มีแผลเป็น (scar) เกิดขึ้นที่ผิวหนังเลย 100% เนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไวมาก และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย ทั้งนี้ ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น และเราสามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก คนไข้เจ็บน้อยมากและเสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 ซีซี – 20 ซีซี) จากการผ่าตัดของ รพ ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน โดยแพทย์จะรอดูอาการประมาณ 3-4 วัน หากไม่มีปัญหาก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัดคนไข้ก็ไม่ต้องทำแผลใดๆ แผลที่เย็บไว้ในปากไหมจะละลายไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้คนไข้สามารถใช้ชีวิตและรับประทานอาหารได้ตามปกติ” นพ.อังกูรเผย
นพ.อังกูร ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ทางช่องปาก หน่วยผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังสามารถทำการผ่าตัดผ่านกล้องในโรคที่ซับซ้อนอื่นๆ ได้ทุกโรค อาทิ เช่น การผ่าตัดโรคอ้วนเพื่อลดน้ำหนักผ่านกล้อง ผ่าตัดไส้เลื่อนผ่านกล้อง ผ่าตัดมะเร็งตับ หรือตับอ่อน และถุงน้ำดีผ่านกล้อง ผ่าตัดมะเร็งลำไส้ผ่านกล้อง ผ่าตัดเพื่อลดภาวะเหงื่อออกมากผ่านกล้อง ผ่าตัดก้อนที่เต้านมผ่านกล้อง ผ่าตัดไตผ่านกล้อง
ล่าสุด กลุ่มงานศัลยกรรม รพ.ตำรวจ ยังได้ดำเนินการจัดตั้ง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดผ่านกล้องศัลยกรรม (Minimally Invasive Surgery Excellent Center) เพื่อทำการตรวจรักษา วิจัย และผ่าตัด โดยใช้การผ่าตัดผ่านกล้องขั้นสูงให้แก่ประชาชนทั่วไป และเพื่อเป็นศูนย์กลางทางด้านวิชาการและการผ่าตัดผ่านกล้องชั้นนำของประเทศ และนานาชาติอีกด้วย
ผู้ป่วยสามารถติดต่อขอรับการตรวจได้ที่ ห้องตรวจโรคศัลยกรรม ตึกอำนวยการชั้น 3 โรงพยาบาลตำรวจ โทร. 02 207 6000 เว็บไซต์ www1.pgh.go.th/home.php?
###
วิวัฒนาการการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์โตในประเทศไทย
ภาวะต่อมไทรอยด์โตที่พบได้บ่อยในประเทศไทย มักมีสาเหตุมาจากการขาดสารไอโอดีน หรือแม้แต่ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์เองทำให้ต่อมไทรอยด์โตขึ้นจนเห็นได้ชัด การรักษาความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่คอโตนั้นมักจะเริ่มด้วยการรับประทานยาฮอร์โมนเพื่อกดการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อหวังให้ก้อนยุบลงหรือไม่โตขึ้น แต่โดยส่วนใหญ่จะลงเอยด้วยการผ่าตัด เพื่อเอาต่อมไทรอยด์ข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างออก เพื่อป้องกันการเปลี่ยนเป็นมะเร็ง หรือก้อนโตขึ้นเรื่อยๆจนทำให้ไม่สามารถทานอาหารหรือหายใจไม่สะดวก และในบางกรณีเพื่อความสวยงามของผู้ป่วยเอง
การผ่าตัดที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ก็คือการผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิด (Open surgery) โดยศัลยแพทย์จะทำการลงมีดที่บริเวณคอในแนวขวาง (Transverse collar incision) ซึ่งสามารถตัดไทรอยด์ออกได้หมดรวมถึงสามารถเลาะต่อมน้ำเหลืองได้ด้วยในบางกรณี และแน่นอนว่าการผ่าตัดแบบเปิดนี้ ทำให้เกิดแผลเป็นที่คออย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากแผลเป็นจะอยู่ที่คอ ภายนอกร่มผ้า ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดความไม่มั่นใจ
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องทางรักแร้ ยังมีข้อจำกัด เช่น ระยะทางจากรักแร้ไปถึงต่อมไทรอยด์มีระยะทางไกล ทำให้ต้องสร้างพื้นที่ทำงานใต้ผิวหนัง จากรักแร้ขึ้นไปหาไทรอยด์ค่อนข้างไกล เกิดผลให้การผ่าตัดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความยาวมักจะชนกันเอง หลังผ่าตัดคนไข้มักจะมีปัญหาชาบริเวณระหว่างรักแร้ถึงคอ และใช้เวลาพอสมควรในการที่เส้นประสาทจะกลับมาปกติ (เฉลี่ยมากกว่า 6 เดือน) นอกจากนี้ การผ่าตัดผ่านรักแร้สามารถทำการผ่าตัดได้ทีละข้าง เช่น เข้าทางรักแร้ซ้ายเพื่อผ่าตัดไทรอยด์ข้างซ้าย ถ้าต้องการผ่าไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ก็จำเป็นต้องลงแผลที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถือว่าทำให้เกิดแผลต่อคนไข้มากขึ้น และการผ่าตัดชนิดนี้ ก็ยังคงก่อให้เกิดแผลเป็น เพียงแต่แผลเป็นจะย้ายมาที่บริเวณรักแร้แทน ซึ่งยังคงสร้างความไม่มั่นใจให้แก่คนไข้หญิงบางราย
ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่านทางช่องปากกับคนไข้จริง ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ โดยมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังทำการผ่าตัดชนิดนี้กันในจำนวนน้อยมาก ส่วนประเทศอื่นยังคงเป็นการทดลองผ่าตัดในร่างอาจารย์ใหญ่ หรือในหมู ยังมิได้ริเริ่มผ่าตัดในคนไข้จริง ซึ่งเทคนิคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป
การผ่าตัดแบบนี้ ถือเป็น NOTES (Natural Orifice Transluminal Ensoscopic Surgery) ซึ่งลงแผลผ่านช่องธรรมชาติของคนไข้ จึงไม่เกิดแผลเป็นใดๆหลังผ่าตัดเลย และการผ่าตัด NOTES ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก คือ (1) ไร้แผลเป็นที่ผิวหนัง 100 % โดยจะลงแผลขนาดเล็ก 3 แผล 1 ซม. 0.5 ซม. และ 0.5 ซม. ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกล่าง กับริมฝีปากล่าง และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดและคีบเอาต่อมไทรอยด์ออกผ่านทางปาก และทำการเย็บปิดโดยใช้ไหมละลาย และเนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไว และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย (2) ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น (3) สามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก (4) สามารถมองเห็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงทั้ง 2 ข้างที่วางขนานหลอดลม ได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถเก็บเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงนี้ได้ดีกว่า ช่วยป้องกันคนไข้เสียงแหบหลังผ่าตัด (5) เสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 – 20ซีซี) (6) คนไข้มีอาการเจ็บน้อยมาก จากการผ่าตัดของ รพ. ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน และสามารถทานอาหารได้ตามปกติ (7) ไม่พบอาการชาที่ผิวหนังระหว่างคางถึงบริเวณไทรอยด์เดิม เนื่องจากสามารถเก็บรักษาเส้นประสาทบริเวณคาง
ในช่วงประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาเทคนิคการผ่าตัด เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดไทรอยด์ที่คอ ชนิดแผลเล็ก แต่ก็ยังมีแผลเป็นให้เห็นอยู่ที่คอ ต่อมาได้มีการพัฒนาการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องวีดีทัศน์ หลายๆวิธี เช่น ลงแผลที่รักแร้ หน้าอก หัวนม หลังหู เป็นต้น โดยการสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดต่อมไทรอยด์ออก โดยการผ่าตัดผ่านกล้องนี้ ล้วนมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดแผลเป็นที่คอที่เห็นได้ชัด แต่จะย้ายแผลไปที่บริเวณอื่นๆของร่างกายแทน
การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆ สำหรับในประเทศไทย เทคนิคที่ทำกันแพร่หลายก็คือ ผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ และในปัจจุบันมีศัลยแพทย์ในเมืองไทยที่สามารถผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางรักแร้ได้ประมาณ 30 คน
อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดผ่านกล้องทางรักแร้ ยังมีข้อจำกัด เช่น ระยะทางจากรักแร้ไปถึงต่อมไทรอยด์มีระยะทางไกล ทำให้ต้องสร้างพื้นที่ทำงานใต้ผิวหนัง จากรักแร้ขึ้นไปหาไทรอยด์ค่อนข้างไกล เกิดผลให้การผ่าตัดค่อนข้างจะยาก เนื่องจากอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีความยาวมักจะชนกันเอง หลังผ่าตัดคนไข้มักจะมีปัญหาชาบริเวณระหว่างรักแร้ถึงคอ และใช้เวลาพอสมควรในการที่เส้นประสาทจะกลับมาปกติ (เฉลี่ยมากกว่า 6 เดือน) นอกจากนี้ การผ่าตัดผ่านรักแร้สามารถทำการผ่าตัดได้ทีละข้าง เช่น เข้าทางรักแร้ซ้ายเพื่อผ่าตัดไทรอยด์ข้างซ้าย ถ้าต้องการผ่าไทรอยด์ทั้ง 2 ข้าง ก็จำเป็นต้องลงแผลที่รักแร้ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งถือว่าทำให้เกิดแผลต่อคนไข้มากขึ้น และการผ่าตัดชนิดนี้ ก็ยังคงก่อให้เกิดแผลเป็น เพียงแต่แผลเป็นจะย้ายมาที่บริเวณรักแร้แทน ซึ่งยังคงสร้างความไม่มั่นใจให้แก่คนไข้หญิงบางราย
ในปัจจุบัน ได้มีการพัฒนาเทคนิคในการผ่าตัดผ่านกล้อง ผ่านทางช่องปากกับคนไข้จริง ริเริ่มโดยศัลยแพทย์ชาวเยอรมัน ในปี พ.ศ. 2555 ต่อมาได้มีศัลยแพทย์ชาวญี่ปุ่น และจีน ได้เริ่มทำการผ่าตัดชนิดนี้ โดยมีเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่ก็ยังทำการผ่าตัดชนิดนี้กันในจำนวนน้อยมาก ส่วนประเทศอื่นยังคงเป็นการทดลองผ่าตัดในร่างอาจารย์ใหญ่ หรือในหมู ยังมิได้ริเริ่มผ่าตัดในคนไข้จริง ซึ่งเทคนิคของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป
การผ่าตัดแบบนี้ ถือเป็น NOTES (Natural Orifice Transluminal Ensoscopic Surgery) ซึ่งลงแผลผ่านช่องธรรมชาติของคนไข้ จึงไม่เกิดแผลเป็นใดๆหลังผ่าตัดเลย และการผ่าตัด NOTES ในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
ข้อดีของการผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางช่องปาก คือ (1) ไร้แผลเป็นที่ผิวหนัง 100 % โดยจะลงแผลขนาดเล็ก 3 แผล 1 ซม. 0.5 ซม. และ 0.5 ซม. ที่บริเวณรอยต่อระหว่างเหงือกล่าง กับริมฝีปากล่าง และสอดอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปตัดและคีบเอาต่อมไทรอยด์ออกผ่านทางปาก และทำการเย็บปิดโดยใช้ไหมละลาย และเนื่องจากช่องปากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงค่อนข้างมาก ทำให้แผลที่เกิดขึ้นหายไว และไม่เกิดแผลเป็นหรือพังพืดใดๆเลย (2) ระยะทางระหว่างช่องปากและไทรอยด์ ถือว่าสั้นที่สุดเมื่อเทียบกับการผ่าตัดผ่านกล้องวิธีอื่นๆ ทำให้ศัลยแพทย์ผ่าตัดได้ง่ายมากขึ้น (3) สามารถผ่าตัดต่อมไทรอยด์ได้ทั้ง 2 ข้าง โดยที่ไม่ต้องลงแผลเพิ่มอีก (4) สามารถมองเห็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงทั้ง 2 ข้างที่วางขนานหลอดลม ได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถเก็บเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงนี้ได้ดีกว่า ช่วยป้องกันคนไข้เสียงแหบหลังผ่าตัด (5) เสียเลือดน้อยมาก (ไม่เกิน 10 – 20ซีซี) (6) คนไข้มีอาการเจ็บน้อยมาก จากการผ่าตัดของ รพ. ตำรวจ พบว่า หลังผ่าตัดวันที่ 2-3 คนไข้ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ เหมือนไม่เคยผ่าตัดมาก่อน และสามารถทานอาหารได้ตามปกติ (7) ไม่พบอาการชาที่ผิวหนังระหว่างคางถึงบริเวณไทรอยด์เดิม เนื่องจากสามารถเก็บรักษาเส้นประสาทบริเวณคาง
ขั้นตอนการผ่าตัดไทรอยด์ทางช่องปากของทีมศัลยแพทย์ รพ.ตำรวจ มีดังนี้ (1) คนไข้อยู่ในท่านอนหงายแหงนคอเล็กน้อย นำสลบโดยวิสัญญีแพทย์ และใส่ท่อช่วยหายใจ (2) แพทย์ทำความสะอาดช่องปากคนไข้โดยใช้น้ำยาทำฆ่าเชื้อโรคแบบพิเศษ เพราะในช่องปากมีแบคทีเรียมาก (3) เจาะรูเล็กๆขนาดประมาณ 1 ซม. บริเวณตรงกลาง 1 รู ที่บริเวณรอยต่อระหว่างริมฝีปากล่างกับเหงือกของฟันล่างและด้านข้าง 0.5 ซม. อีก 2 รู และ เลาะจากรูที่เจาะในปากลงไปใต้ผิวหนัง ยาวลึกลงไปถึงต่อมไทรอยด์ ที่อยู่บริเวณคอ โดยใช้อุปกรณ์ที่คิดค้นมาพิเศษ (4) ทำการผ่าตัดโดยใช้กล้องที่มีกำลังขยาย 20 เท่า และเครื่องมือที่มีความยาวประมาณ 30 ซม. สอดเข้าไป ผ่าตัดไทรอยด์ที่อยู่บริเวณคอ (5) ตัดและคีบต่อมไทรอยด์อออกจากรูในช่องปากที่สร้างไว้ จากนั้นทำการห้ามเลือดในบริเวณที่ผ่าตัด (6) เย็บปิดแผลที่ปาก และทำความสะอาด
หลังผ่าตัด คนไข้สามารถกลับไปที่ห้องพักฟื้น และแพทย์จะเริ่มให้จิบน้ำได้ คนไข้สามารถรับประทานอาหารอ่อนได้ในวันรุ่งขึ้น ปกติแล้ว แพทย์จะให้คนไข้พักฟื้นในโรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน เพื่อดูอาการ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือปัญหาใดๆก็จะให้กลับบ้านได้ หลังผ่าตัด คนไข้จะไม่ปวดมากเหมือนการผ่าตัดชนิดเปิด บางรายหลังการผ่าตัดวันที่ 2 ก็ไม่มีอาการปวดหลงเหลืออยู่เลย และไม่ต้องทำแผลใดๆ แผลที่เย็บไว้ในช่องปากจะเป็นไหมละลาย ซึ่งจะละลายหมดไปเองภายใน 30 วัน ในช่วงนี้สามารถใช้ชีวิตประจำวัน และรับประทานอาหารได้ตามปกติ เสมือนไม่เคยได้รับการผ่าตัดมาก่อนเลย